ขอขอบคุณทุกท่านและแผนงานระยะต่อไป

เรียน  ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกท่านครับ

ผมหายหน้าหายตาไปกว่า ๒ เดือน นับจาก ภารกิจ workshop ของเรา เมื่อวันที่ ๓ ส.ค. ช่วงเวลาที่หายหน้าไปนี้ ผมมีโอกาสได้ไปนำเสนอผลงาน Service roadmapping ในการประชุม The International Research Symposium in Service Management: IRSSM7  ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  ระหว่าง ๒-๖ ส.ค. และภารกิจอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง ณ กรุงเทพฯ จากนั้น  ๑๘ ส.ค. ก็เดินทางกลับที่ตั้ง ณ JAIST ญี่ปุ่น  และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานในการประชุม Portland International Conference on Management of Engineering and Technology: PICMET’16  ด้วย

ผมขอขอบคุณ ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกท่าน ที่ได้กรุณาสละเวลาใน Virtual & Face to Face roadmapping workshop Phase I และสำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ เอกสารที่นำเสนอใน IRSSM7 & PICMET’16 ผมได้วางไว้แล้วครับที่  Publications

สำหรับกิจกรรมในแผนงานระยะที่ ๒ (Phase II) จะประกอบด้วย

๑. V-Plan roadmapping workshop – Virtual Mode ระหว่าง ต.ค  – พ.ย.  เพื่อทำ Linking grid ของ Service/Product/Technology  และพิจารณา Knowledge/Partner

๒. Charting – Face to face mode ในวันอังคารที่ ๒๙ พ.ย. วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พ.ย. เวลา ๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

๓. ประเมิน V-Plan roadmapping process & Stakeholder’s Value Co-creation behavior & engagement

๔. ทำ Scenario planning ของ Future services of ATs for the elderly

ทั้งนี้ ผมจะขออนุญาตนำเรียนข้อมูลของแต่ละกิจกรรมในรายละเอียด ต่อไป ครับ ขอความกรุณาท่านให้ความอนุเคราะห์ด้วยครับ ตามโอกาสและเวลาที่อำนวย

ขอบพระคุณครับ ด้วยความเคารพ

น้อง พรพรหม
Your roadmapping facilitator
SIIT-JAIST-NECTEC
๓๐ ก.ย. ๕๙

Aims & Tasks – Aug 3 Workshop

เรียน V-Plan Stakeholders ทุกท่านครับ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อน Face to face workshop วันพรุ่งนี้ (พุธที่ ๓ ส.ค.)  ผมขอนำเรียนข้อมูล ดังนี้ ครับ

๑.  Drivers

Result - Market drivers

๒.  Value Proposition Identification

ตาม Worksheet  ซึ่งเริ่มต้นจาก ผู้รับบริการ/ผู้สูงอายุ บอก Gain (ความต้องการ/ประโยชน์), Pain (ปัญหา/ข้อจำกัด/อุปสรรค) ของท่าน จากนั้น ผู้ให้บริการ เสนอ  Products/Services ที่จะช่วยลด Pain  และ เพิ่ม Gain รวมทั้ง Partners อื่น ๆ (มหาวิทยาลัย, ศูนย์วิจัย, หน่วยงานรัฐ)  เสนอสิ่งที่จะสนับสนุนในการ ลด Pain, เพิ่ม Gain ได้อีก

ทั้งนี้ ผมจะประมวล  Worksheet นี้ และจะเสนอ ร่าง List of Service, Product, Technology  และนำเข้าสู่การประชุมวันที่ ๓ ส.ค.เพื่อพิจารณาทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของแต่ละ  Service, Product, Technology ต่อไปครับ

ในชั้นนี้ ขอให้ ท่านทบทวน ตั้งข้อสังเกต เพิ่มเติม  ต่อ ข้อ ๑.  และ ๒  และนำประเด็นมาอภิปรายกันในการประชุมวันที่ ๓ ส.ค. ครับ

๓.  กิจกรรมในการประชุมวันที่ ๓ ส.ค.

Slide1Slide2Slide3Slide4Slide5Slide6

จึงเรียนมาเพื่อเป็นข้อมูล

พบกัน วันพุธที่ ๓ ส.ค.เวลา ๙.๐๐ น. ที่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ศูนย์บางกระดี

ขอบคุณและสวัสดีครับ

น้อง พรพรหม อธีตนันท์
Your roadmapping facilitator

ขอความกรุณาให้ข้อมูลทะเบียนรถยนต์เพื่อสำรองที่จอดรถ สำหรับการประชุมวันที่ ๓ ส.ค.

ขอความกรุณาให้ข้อมูลทะเบียนรถยนต์เพื่อสำรองที่จอดรถ สำหรับการประชุมวันที่ ๓ ส.ค. ที่นี่  หรือ ฟอร์มด้านล่างนี้ ครับ ขอบคุณครับ


สถานะการตอบรับเข้าร่วม face to face workshop วันพุธที่ ๓ ส.ค.

Face to face workshop
วันพุธที่ ๓ สิงหาคม ๕๙
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
ห้อง ICT – ES Graduate Research Center ชั้น ๔ อาคารสิรินธราลัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (บางกะดี) จ. ปทุมธานี

สรุปผลการตอบรับการเข้าร่วม Face to face workshop
(ข้อมูล ณ วันอังคารที่ ๒ ส.ค. ๕๙, เวลา ๒๒.๕๒ น.)

ยืนยัน                     19 คน
ไม่สามารถเข้าร่วม   13 คน


[ ยืนยัน ] เข้าร่วม 

ที่ปรึกษา

  1. Assoc. Prof. Dr. Kunio SHIRAHADA, JAIST, Japan
  2. ดร. ศศิพร อุษณวศิน, SIIT
  3. นางสาววันทนีย์ พันธชาติ, NECTEC
  4. ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ, NECTEC

ก. หน่วยงานรัฐด้านนโยบาย ส่งเสริมและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับกิจการผู้สูงอายุ
๑. นางสาวศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ข. สถาบันวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
๒. นางสาววันทนีย์ พันธชาติ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ, NECTEC สวทช.
๓. ดร. ดนุ พรหมมินทร์ Medical Devices Laboratory, Biomedical Engineering Research Unit, National Medal and materials Technology Center (MTEC) สวทช.
๔. นายอนุกูล น้อยไม้ ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก (RHA) , Biomedical Electronics and Systems Research Unit, NECTEC สวทช.

ค. สถาบันการศึกษา
๕. ผศ.ดร. สาวิตรี สุทธิจักร์
๖. นายณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Internet of Things) มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
๗. ดร. กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๘. ดร. ธนาธร ทะนานทอง สาขาวิชาสารสนเทศการแพทย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต

ง. ผู้ให้บริการ/สนับสนุนเทคโนโลยี
๙. นางสาวประวีร์ ชนัฐชวริน CT Asia/CT Robotics
๑๐. นายกันต์ วีระกันต์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
๑๑. นายศิระ เบญจฤทธิ์ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย

จ. ผู้ให้บริการสุขภาพ

๑๒. นางนิตยา ชไนศวรรย์ Bangkok Healthcare Service Co.,Ltd  Asia Nursing Home
๑๓. คุณสุภาวดี จารียานุกูล Asia Nursing Home
๑๔. ดร. จุฬาภรณ์ รามศิริ พยาบาลวิชาชีพ (การดูแลผู้สูงอายุ)
๑๕. นายพลกฤษณ์ ชูติพงศ์ สมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย

ฉ. ผู้รับบริการ
๑๖. นางสาวสุวรรณี พิพัฒน์พิบูลผล (ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
๑๗. นายจุมพล เค้าอุทัย (ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ)
๑๘. นางฉวีวรรณ โมระกุล Informal Carer
๑๙. นายพานิช จิตร์แจ้ง (ข้าราชการบำนาญ อดีตอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)


ติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมได้

  1. ดร. พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. ดร. สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
  3. ดร. กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
  4. รศ.ดร. จิราพร เกศพิชญวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. นางสาววรวรรณ ชายไพฑูรย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  6. นายณัฐพล เทศขยัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  7. นางปรียภรณ์ สีหะกุลัง (ข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)
  8. นายพรเทพ ชมชู Care Manager ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี
  9. ดร.ปวีณา อุทัยนวล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
  10. นายกานต์ นิตยสุทธิ์ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย
  11. นายแพทย์คณพล ภูมิรัตนประพิณ, Health at home
  12. ดร. ภาณุพงษ์ วันจันทึก ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  13. นายจักรพันธุ์ หิรัญย์วงษ์วีระ นักออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ

เรียนเชิญประชุม Face to Face workshop วันพุธที่ ๓ สิงหาคม ที่ SIIT ศูนย์บางกระดี

เรียน V-Plan Service roadmapping ทุกท่าน ครับ

ช่วงนี้มีกิจกรรมการประชุมวิชาการ นิทรรศการ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการผู้สูงอายุและสังคมสูงวัย อย่างต่อเนื่องเลยครับ  ขอขอบคุณท่านที่แนะนำกิจกรรมดีๆ เหล่านี้ ให้กับเพื่อนสมาชิก V-Plan ครับ

ตามที่ท่านทราบแล้วว่า การจัดทำแผนที่นำทาง (Service roadmap) ตามโครงการของเรานั้น มีทั้ง Virtual workshop และ Face to face workshop (F2F)

สำหรับ F2F workshop นั้น กำหนดจัดใน

วันพุธที่ ๓ สิงหาคม ๕๙
เวลา ๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
ห้อง ICT – ES Graduate Research Center ชั้น ๔ อาคารสิรินธราลัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (บางกะดี) จ. ปทุมธานี

ประเด็นการระดมสมอง

1. ทบทวนผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่ผ่านมาช่วง Virtual workshop
2. จัดทำ Service roadmap, Charting ความสัมพันธ์ของ market, service – product -technology
3. ระบุ gaps in Knowledge, partners, งานที่ท้าทายเพิ่มเติมในอนาคต
4. ระบุประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการนำไปใช้ ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ และแนวทางแก้ไขอุปสรรค
5. อื่นๆ (ถ้ามี)

ขอความกรุณาท่านพิจารณาเข้าร่วมการประชุม ในวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าว โดยตอบรับทางอีเมล์ หรือ facebook event จักขอบคุณมากครับ

ขอแสดงความนับถือ
น้อง พรพรหม อธีตนันท์
Your roadmapping facilitator


 แผนที่การเดินทางไป สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (บางกะดี)

bangkadi siit map

Google map: https://goo.gl/8Nl3nc

การสร้างคุณค่าร่วมกัน (Value Co-Creation)

สวัสดีครับ V-Plan Service roadmapping ทุกท่าน

ต้อนรับทุกท่านกลับเข้าสู่โหมดทำงานปกติ เป็นการทำงานวันแรก หลังหยุดยาว ๕ วัน ครับ 😀

วันนี้ ผมขอนำเรื่อง การสร้างคุณค่าร่วมกัน หรือ Value Co-Creation (VCC) มาเล่าสู่กันฟังครับ หลังจากตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่อง Value Proposition (VP)  หรือ คุณค่าที่่นำเสนอ (ต่อลูกค้า)/ข้อเสนอที่มีคุณค่า กันไปแล้ว

ตอนที่แล้ว เรายกกรณีตัวอย่าง Health at Home ที่พัฒนาโดย คุณหมอตั้ม คณพลและทีมงาน  เราทบทวนกันสักนิดนะครับ Value proposition ที่ Health at Home เสนอ (Offer)   คือ ดูแลคนที่คุณรักได้ที่บ้าน

๑. ผู้รับบริการ: สมาชิกในครอบครัวที่ต้องการ

  • บริการการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้ดูแลมืออาชีพและผ่านการตรวจสอบประวัติ
  • ความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการ ได้ผู้ดูแลมืออาชีพ
  • เลือกผู้ดูแลที่เหมาะสมด้วยตนเอง

๒. ผู้ให้บริการ (Health at Home): รายได้จากการบริการจัดหาผู้ดูแลที่เหมาะสม
๓. ผู้มีส่วนร่วม (ผู้ดูแล): รายได้จากการดูแลผู้สูงอายุตามงานที่ได้รับเรียกจากผู้รับบริการ

วันนี้  เรามาทำความรู้จักกับ การสร้างคุณค่าร่วมกัน หรือ Value Co-Creation (VCC) กันครับ
Value co-creation เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าร่วมกัน  โดยเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างลูกค้า/ผู้บริโภค ผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนร่วม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จนเป็นผลให้เกิดคุณค่าขึ้นได้

จากกรณีตัวอย่าง Health at Home

  • ผู้ให้บริการ คือ Health at Home สร้างข้อเสนอที่มีคุณค่า (Value proposition) เสนอให้ผู้รับบริการสามารถ
    • ประกาศความต้องการผู้ดูแล
    • เลือกผู้ดูแลที่ตนเองถูกใจ แล้วนัดวันสัมภาษณ์และทดลองงานได้
    • ชำระเงินในช่องทางที่สะดวก
  • ผู้ให้บริการ สร้างระบบบริการ (Service System) ผ่านเว็บไซต์/mobile application เพื่อเป็นเวทีสำหรับติดต่อทำกิจการและธุรกิจแบบปฏิสัมพันธ์กัน (Interactive) ระหว่างเจ้าหน้าที่ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และผู้ที่สนใจอื่น ๆ เป็นเวทีที่เกิดคุณค่า (Value creation) หรือส่งมอบคุณค่า (Value delivery)ให้แก่ผู้รับบริการได้
  • ผู้รับบริการ สามารถพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ดูแล ที่  Health at home นำเสนอบนเว็บไซต์ ได้ก่อนตัดสินใจขอรับบริการ และเมื่อแจ้งรายละเอียดการดูแลที่ต้องการผ่านเว็บไซต์แล้ว ผู้รับบริการสามารถเลือกผู้ดูแลที่ถูกใจ และนัดวันสัมภาษณ์และทดลองงาน ได้

กระบวนการข้างต้น เป็นตัวอย่างของการร่วมสร้างคุณค่า (Value co-creation)  โดยผู้รับบริการสามารถที่จะทำให้เกิดคุณค่าได้ เป็นคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนร่วม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำหรับโครงการจัดทำ แผนที่นำทางการพัฒนาบริการเทคโนโลยี (Technological Service Roadmapping) ของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assisted Living Technology) สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย  ของเรานั้น  ในชั้นนี้ ขอความกรุณาท่านคิดในใจว่า  จากบทบาทของท่านในโครงการ  ท่านสามารถสร้างคุุณค่าร่วม (Co-Create) ให้กับ “บริการในอนาคต ที่ใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assisted Living Technology) เพื่อผู้สูงอายุ” ได้อย่างไร

ตัวอย่าง 

ผู้ให้บริการเทคโนโลยี  เสนอ (Offer)  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์/บริการ

  • ระบบเตือนรับประทานยาสำหรับผู้สูงอายุ
  • ระบบตรวจสอบอุณหภูมิและการเต้นของหัวใจ
  • ระบบแจ้งเตือนและติดตามด้านสุขภาพของผู้สูงอายุผ่านเทคโนโลยีไร้สาย
  • บ้านอัจฉริยะ
  • ระบบตรวจจับการล้ม
  • อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว ช่วยการได้ยิน การมองเห็น
  • ระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่ภายในบ้านเพื่อเฝ้าระวังผู้สูงอายุ
  • เป็นต้น

ผู้รับบริการ ต้องการ (Require)  เครื่องมือหรือระบบที่

  • ช่วยลดภาระของผู้ดูแล (Caregiver/Informal carer)
  • อำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจให้กับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยคนเดียว
  • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกับสังคมมากขึ้้น จาก “ติดบ้าน” เป็นเริ่มออกสู่ “สังคม”
  • เป็นต้น

สำหรับผู้มีส่วนร่วม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อื่นๆ   แม้ว่าท่านจะไม่ได้ interact (มีปฏิสัมพันธ์) โดยตรง กับผู้บริการ (ผู้สูงอายุ) ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่า ทางอ้อม ได้ เนื่องจากท่านอยู่ใน  Value Network  เดียวกัน เช่น

  • หน่วยงานรัฐออกนโยบายส่งเสริม สนับสนุน การสร้างผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ สำหรับผู้สูงอายุ
  • สถาบันการศึกษา เตรียมความพร้อมบัณฑิตด้านวิทย์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการแพทย์และสาธารณสุข
  • สถาบันวิจัย พัฒนา สร้างต้นแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือ ระบบต้นแบบ

ทั้งนี้  ผมจะขอรับความเห็นจากท่าน เรื่อง  “คุณค่าที่นำเสนอ (Value offering)  และ ความต้องการ (Requirement)” จากบทบาทของท่าน ที่มีต่อ ผู้สูงอายุ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อื่นๆ  ผ่านแบบฟอร์มออนไลน์และ/หรือ การอภิปรายกลุ่มออนไลน์  ในขั้นตอนต่อไป ครับ

ขอบคุณและสวัสดีครับ

น้อง พรพรหม อธีตนันท์
Your roadmapping facilitator

 

มาทำความรู้จัก “(Customer) Value proposition” หรือ “คุณค่าที่นำเสนอ(ต่อลูกค้า)” กันครับ

สวัสดี V (Virtual & Value Co-creation)-Plan Service roadmapping team ครับ

ตอนนี้ เราได้ ปัจจัย (Driver) ที่มีผลต่อโอกาสทางการตลาดของ บริการในอนาคตของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้สูงอายุ แล้ว

ขั้นตอนต่อไป เราจะใช้  Value proposition creation (การสร้างคุณค่าที่นำเสนอ) เพื่อหา

๑. คุณค่าที่ผู้ให้บริการจะมอบให้ผู้รับบริการ
๒. ความต้องการของผู้รับบริการ และ
๓. คุณค่าที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับจากการสนับสนุนการสร้างคุณค่าให้ผู้รับบริการ

จากนั้น เราจะนำผลลัพธ์ทั้ง ๓ ข้อนี้ เป็น “ข้อมูลนำเข้า” ส่งต่อสู่ Service layer ต่อไป

เรามาเริ่มกันที่ Customer Value Proposition (CVP) หรือ คุณค่าที่นำเสนอต่อลูกค้า*๑ กันครับ ลูกค้าในที่นี้ ก็คือ ผู้รับบริการ นั่นเอง

Value-Proposition-300x206มารู้จัก Value Proposition (VP) – การนำเสนอคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการ กันครับ

Value Proposition describes the benefits customers can expect from your products and services.*๒

การนำเสนอคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการ คือ การช่วยให้ผู้รับบริการทำงานได้สำเร็จหรือการแก้ไขปัญหาให้กับผู้รับบริการได้ในที่สุด*๑ ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓ ส่วน*๓

๑. ผู้รับบริการ: คุณค่าที่นำเสนอต่อผู้รับบริการ หรือ คุณค่าที่ผู้รับบริการจะได้รับ
๒. ผู้ให้บริการ: คุณค่าที่ผู้ให้บริการได้รับจากการนำเสนอคุณค่าให้ผู้รับบริการ
๓. ผู้มีส่วนร่วม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: คุณค่าที่ผู้มีส่วนร่วมได้รับจากการสนับสนุนการสร้างคุณค่าให้ลูกค้า

จาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการของเรา ประกอบด้วย

๑. ผู้รับบริการ คือ ผู้สูงอายุ
๒. ผู้ให้บริการ ประกอบด้วย ผู้ให้บริการสุขภาพ (Health at home, Asia Nursing home, ศูนย์ดูแลผู้สูงอาสยุ ทต. บางสีทอง) และผู้ให้บริการเทคโนโลยี (CT Asia Robotics, SCG)
๓. ผู้มีส่วนร่วม ประกอบด้วย หน่วยงานรัฐ, สถาบันวิจัย, สถาบันการศึกษา

กรณีตัวอย่าง Value Proposition

๑. Health at home: ดูแลคนที่คุณรักได้ที่บ้าน (คุณหมอตั้ม คณพล CEO และ Co-Founder บจก.ไอแอมดีอาร์ ผู้ก่อตั้ง Health at Home แอปพลิเคชันด้านการแพทย์เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุถึงบ้าน)

คลิปแนะนำบริการ ความยาว ๑.๑๖ นาที ที่นี่ครับ

๒. จากกรณีตัวอย่างนี้ พบว่า

  • ผู้รับบริการ คือ ผู้สูงอายุ (พักอาศัยที่บ้าน)
  • ผู้ให้บริการ คือ Health at home (ให้บริการผ่าน mobile application)
  • ผู้มีส่วนร่วม คือ ผู้ดูแล (ที่ลงทะเบียนไว้กับ Health at home) และ บุตร หลาน หรือสมาชิกในครอบครัว ของผู้สูงอายุ ที่ต้องการการดูแล

๓. Value proposition

  • ผู้รับบริการ: สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล ได้รับบริการดูแลผู้สูงอายุ ที่สะดวกในการติดต่อ ได้ผู้ดูแลมืออาชีพ ผ่านการตรวจสอบประวัติ
  • ผู้ให้บริการ: รายได้จากการบริการจัดหาผู้ดูแลที่เหมาะสม
  • ผู้มีส่วนร่วม: รายได้จากการดูแลผู้สูงอายุตามงานที่ได้รับเรียกจากผู้รับบริการ

ตอนต่อไป ผมจะนำเรียนเรื่อง “Value Co-creation (การสร้างคุณค่าร่วม)” โปรดติดตามครับ

ขอบคุณและสวัสดีครับ

น้อง พรพรหม อธีตนันท์
Your roadmapping facilitator


  • *๑ นวัตกรรมในตัวแบบธุรกิจ, รศ.ดร. พสุ เตชะรินทร์, ๒๕๕๒
  • *๒ Value Proposition Design, Alex Osterwalder, Yves Pigneur, Greg Bernada, Alan Smith, 2014
  • *๓ Service Business Model Canvas & Service Blueprint, ผศ.ดร. สาวิตรี สุทธิจักร์, ๒๕๕๙
  • ภาพประกอบ Value proposition จาก http://maximizebusinessmarketing.com/develop-powerful-b2b-value-proposition

 

ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย (Driver) ที่มีผลต่อโอกาสทางการตลาดของ Future Services of Assited Living Technology เพื่อผู้สูงอายุ

พร้อมนี้ ผมขอนำเสนอ ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย (Driver) ที่มีผลต่อโอกาสทางการตลาดของ Future Services of Assited Living Technology เพื่อผู้สูงอายุ จากการสำรวจระหว่าง ๑๐-๑๓ ก.ค. ๕๙ ดังนี้ หรือที่่ Google Sheet ครับ

Result - Market drivers.png

 

ปัจจัย (Driver) หลัก ๕ กลุ่ม (สุขภาพ, เทคโนโลยีและนวัตกรรม, สังคม, นโยบาย และธุรกิจบริการ)  และปัจจัยย่อย เรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย

เราจะใช้ปัจจัยนี้ อีกครั้งในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ “บริการ” และ “ปัจจัย” เพื่อนำเสนอบริการที่สอดรับกับโอกาสทางการตลาด ใน Roadmap Layer ต่อๆ ไปครับ

หลังจากนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับ “การนำเสนอคุณค่า (Value Proposition)” ,  ” การสร้างคุณค่าร่วม Value co-creation” และจะขอให้ท่านทำแบบสำรวจ  “service offering & requirement” ในลำดับต่อไปครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ

น้อง พรพรหม อธีตนันท์
Your roadmapping facilitator

สรุปผล the first virtual discussion – Skype group call วันจันทร์ที่ ๑๑ ก.ค. ๕๙

  1. เริ่ม ๑๖.๒๐ น. สิ้นสุด ๑๖.๕๕ น.
  2. ผู้เข้าร่วมประชุม (ผช. จุมพล, พี่สุวรรณี, พี่ประวีร์, อ. ปวีณา, อ. กลกรณ์, คุณฉวีวรรณ) และพรพรหม (Facilitator) รวม ๗ คน
  3. เริ่มด้วยการแนะนำตัว, การทำงาน ของแต่ละท่าน Facilitator  รายงานภาพรวมโครงการและวิธีการทำงาน
  4. Facilitator แสดงผลการประเมินเบื้องต้น ลำดับความสำคัญของปัจจัย (Driver) ที่มีผลต่อโอกาสทางการตลาด จากผู้ตอบแบบฯ จำนวน ๗ ท่าน (ครึ่งเช้าของวันที่ ๑๑ ก.ค.) ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำแบบประเมินฯ ลำดับความสำคัญของปัจจัย (Driver) ที่มีผลต่อโอกาสทางการตลาด ภายใน วันอังคารที่ ๑๒ ก.ค. เวลา ๑๘.๐๐ น.  และFacilitator จะนำเสนอผลการประเมิน ลำดับความสำคัญของปัจจัย ภายในวันพุธที่ ๑๓ ก.ค.
  5. การประชุมผ่าน Skype ค่อนข้างเป็นไปด้วยดี มีข้อขัดข้องทางเทคนิค จากฝั่ง facilitator เอง ที่บางช่วงเวลา ไม่ได้ยินเสียงจากฝั่งญี่ปุ่น <-> ไทย  โดยที่ฝั่งไทย  สื่อสารกันเองเป็นไปโดยปกติ  ทั้งนี้ faciliatator จะหาสาเหตุและแก้ปัญหาต่อไป
  6. ขั้นตอนต่อไป จะเป็น Value proposition stage เป็นการหา “Value exchange”, “Co-Value” ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม “ตั้งใจนำเสนอ/ให้” และ “คาดว่าจะได้รับ” ซึ่งกันและกัน ขั้นตอนนี้ จะดำเนินการระหว่าง พุธที่ ๑๓ ถึง เสาร์ที่ ๑๖ ก.ค. ทั้งนี้ Facilitator จะเรียนข้อมูลนำเข้า และแบบสำรวจ ในลำดับต่อไป
  7. การสื่อสารภายในทีมผ่าน e-Mail, Line/Facebook ทั้งนี้ การประชุมผ่าน Skype จะนัดตามความจำเป็นและนัดล่วงหน้า

ปิดการประชุม ๑๖.๕๕ น.